Support
bangkoklab
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

ชาเขียว

blc@bangkoklab.co.th | 21-05-2562 | เปิดดู 1398 | ความคิดเห็น 0
  • product id 1177439,830982
  • product id 2177439,830984

 

 

       ชา ชื่อวิทยาศาสตร์ Camellia sinensis ถิ่นกำเนิดในประเทศจีน มีการใช้เป็นเครื่องดื่มมาหลาย ร้อยปี และแพร่ไปญี่ปุ่น อังกฤษ อินเดีย จนเป็นที่นิยมทั่วโลก นอกจากจะนำมาใช้เป็นเครื่องดื่มแล้ว ยังนำมาประกอบอาหาร และเครื่องสำอาง ในท้องตลาดมีชาหลายชนิด เช่น ชาขาว ชาเขียว ชาอูหลง ชาแดง ชาดำ ชาเหลือง ทราบหรือไม่ว่า ชาทั้งหลายนี้มาจากต้นชาเดียวกัน เพียงแต่กระบวนการผลิตต่างกัน

 

ชาเขียวเป็นชาที่ไม่ผ่านการหมัก จึงยังคงสี กลิ่น รสของชาแท้ไว้ และมีประสิทธิภาพในการต้าน อนุมูลอิสระสูง ส่วนชาชนิดอื่น ๆ จะมีระยะเวลาการแปรรูปใบชาต่างกันอย่างชาอูหลงมีขั้นการหมัก บางส่วน ชาดำมีขั้นการหมักที่สมบูรณ์ จากสีที่เขียวก็เปลี่ยนไปเป็นสีน้ำตาลเข้มกลิ่นและรสก็เปลี่ยนไป 

 

 

 ในใบชามีสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด  สารที่มีฤทธิ์สูงและโดดเด่นเป็นกลุ่มแคทเทชิน   นอกจากนั้นชายังมีสารคาเฟอีนสูง โดยมีในใบอ่อนมากกว่าใบแก่ จากการวิเคราะห์ปริมาณ คาเฟอีนในใบชาของ ผศ.ดร.สัณห์ ละอองศรี และคณะจากโครงการหลวงวิจัยชา มหาวิทยาลัย แม่โจ้ พบว่าใบชาสดสายพันธุ์ต่าง ๆ มีคาเฟอีนไม่ต่างกันทางสถิติ ที่ระดับนัยสำคัญ 95% ชาจีน ชาญี่ปุ่น และชาอัสสัม มีค่า 0.54, 0.41 และ 0.40 มิลลิกรัม/กรัม ตามลำดับ 

 

 คาเฟอีนเป็นสารที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์สูงกว่าวิตามินซี โดยออกฤทธิ์ในกลไก hydroxyl radical, peroxyl radical และ singlet oxygen คาเฟอีนช่วยยืดอายุของฮอร์โมนในร่างกายให้ออกฤทธิ์ ได้นานขึ้น และช่วยดูดซึมสารออกฤทธิ์อื่นเข้าสู่เซลล์ เช่น ช่วยในการดูดซึมสารเออร์โกทามีนที่ใช้ในยา รักษาไมเกรน เพราะคาเฟอีนสามารถละลายได้ทั้งในน้ำและน้ำมัน ช่วยลดการยับยั้งสารสื่อประสาท ผ่อนคลายกล้ามเนื้อเรียบ ส่งผลให้ลดการล้าของเซลล์ กล้ามเนื้อ และหลอดเลือด   จึงมีการนำสาร สกัดจากชามาใช้ในเครื่องสำอาง ช่วยลดความอ่อนล้าของผิว และริ้วรอย และยังช่วยผลักสารบำรุง อื่น ๆ เข้าสู่เซลล์ผิว    

 

เรียบเรียงโดย  : ดร.เริงฤทธิ์  สัปปพันธ์  นักวิทยาศาสตร์อาวุโส บริษัท บางกอกแล็ป แอนด์ คอสเมติค จำกัด

เอกสารอ้างอิง :

1. Hara, Y. 2001. Green tea- health benefits and Applications. New York, NY: Marcel dekker, Inc.

2. ผศ.ดร.สัณห ละอองศรี และคณะ คาเฟอีนในยอดชาสด และผลิตภัณฑชา. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 41: สาขาพืช สาขาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร. 2546

3. Caffeine. DrugBank. University of Alberta. 16 September 2013.

4. Pesta, D. H., et al. 2013. The effects of caffeine, nicotine, ethanol, and tetrahydrocannabinol on exercise performance. Nutr Metab. 10(1): 71.

5. Conger, S. A., et al. 2011. Does caffeine added to carbohydrate provide additional ergogenic benefit for endurance?. Int J Sport Nutr Exerc Metab. 21(1): 71–84.

  

ความคิดเห็น

วันที่: Thu Mar 28 22:32:03 ICT 2024

แสดงความคิดเห็น
All Comments: 0 Pages: 1/0
Desktop Version
 
Google analytics