Support
bangkoklab
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

ว่านนางคำ

blc@bangkoklab.co.th | 16-10-2561 | เปิดดู 4389 | ความคิดเห็น 0
  • product id 1177439,830982
  • product id 2177439,830984

 

      ว่านนางคำ (wild turmeric) ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma aromatic Salisb. เป็นพืชในวงศ์ขิง มีเหง้าขนาดใหญ่ สีเหลือง มีกลิ่นหอมเย็น ประทับใจจึงตั้งชื่อว่า aromatica ซึ่งมาจาก aromatic ที่แปลว่ามีกลิ่นหอม ดอกช่อแยกจากต้น ริ้วประดับสีเขียวอ่อน ส่วนปลายสีชมพู กลีบดอกสีขาวแกมชมพู คล้ายดอกกระเจียว กระจายพันธุ์ในเอเชีย

 

      โบราณใช้ว่านนางคำผสมแป้งทาหน้า น้ำปรุงประทินผิว เครื่องสำอาง สำหรับผิว และผม ช่วยรักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน รังแค สิว ฝ้า จุดด่างดำ ทำให้ผิวหน้าดู อ่อนกว่าวัย จากรายงานของ Srivastava และคณะ 20091 , Jarikasem และ คณะ 20052 พบสารพฤกษเคมีหลายตัว เช่น camphor, 1,8 cineole, isoborneol, borneol, curcumene, xanthorrhizol, ar-curcumene และน้ำมันหอมระเหย มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง ต้านอักเสบ และสารฆ่าเชื้อแบคทีเรีย

 

ภาพแสดงการสร้าง SIRT1 ที่มีมากในเซลล์ที่อายุน้อย จึงทำให้เซลล์อิ่มเอิบ เต่งตึง และกระจ่างใส แต่ SIRT1 มีน้อยในเซลล์ที่ชราจึงทำให้เซลล์เหี่ยว หมองคล้ำ หยาบกร้าน3

 

      งานวิจัยพบว่า สารสกัดจากว่านนางคำเพิ่มสาร Sirtuin 1(SIRT1) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการชะลอวัย ซึ่ง SIRT1 สร้างในเซลล์ที่อ่อนเยาว์มากกว่า เซลล์ที่ชรา ยับยั้ง NF-KB ซึ่งเป็นสารที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ และยับยั้ง แบคทีเรีย ว่านนางคำ=จึงมีฤทธิ์ในการต้านความเสื่อม การอักเสบ ของเซลล์และฆ่าเชื้อ จึงเหมาะแก่การนำมาใช้ในเครื่องสำอางช่วยคงความอ่อนเยาว์

 

 ตารางแสดงประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดว่านนางคำ เส้นผ่านศูนย์กลางบริเวณที่ยับยั้ง (มิลลิเมตร) ที่ความเข้มข้น 7760, 15320, 61280, 76600 ไมโครกรัมต่อจาน เทียบกับยาปฏิชีวนะ

 

        พบว่าสารสกัดจากว่านนางคำตั้งแต่  ความเข้มข้นที่ 7760 ไมโครกรัมสามารถ  ยับยั้งเชื้อ Staphylococcus aureus และ  Streptococcus sp. ซึ่งเป็นสาเหตุให้  ผิวอักเสบ สิว หนอง นอกจากนั้นยัง  ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้อีกหลายชนิด4

 

 

อ้างอิง

1. Srivastava, M., et al. 2009. Volatile constituents of essentialoil of Curcuma aromatica salisb.NPAIJ: 5(2). 40-4.

2. Jarikasem, S., et al. 2005. Essential Oils from Three Curcuma Species Collected in Thailand. ISHS Acta Horticulturae 675: III WOCMAP Congress on Medicinaland Aromatic Plants - Volume 1: Bioprospecting and Ethnopharmacology.

3 .Yu, A. and Dang, W. 2017. Regulation of stem cell agingby SIRT1 – Linking metabolic signaling to epigenetic modifications. Mol Cell Endocrinol. 455(5): 75-82.

4. Revathi, S. and Malathy, N. S.,2013. Antibacterial Activity of Rhizome of Curcuma aromatica and Partial Purification of Active Compounds. Indian J Pharm Sci. 75(6): 732–5.

ความคิดเห็น

วันที่: Fri Mar 29 19:57:30 ICT 2024

แสดงความคิดเห็น
All Comments: 0 Pages: 1/0
Desktop Version
 
Google analytics