Support
bangkoklab
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

รากสามสิบ

blc@bangkoklab.co.th | 17-08-2561 | เปิดดู 1663 | ความคิดเห็น 0

 

ลักษณะของรากสามสิบ

         ต้นรากสามสิบ เป็นไม้เถาเนื้อแข็งเลื้อยพันต้นไม้อื่นด้วยหนาม ลำต้นเป็นสีเขียวหรือสีขาวแกมเหลือง เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-5 มิลลิเมตร เถาอ่อนเป็นเหลี่ยม ตามข้อเถามีหนามแหลม รากอยู่ใต้ดิน คล้ายรากกระชาย ลักษณะอวบน้ำ กระจายพันธุ์ในประเทศไทย อินเดีย ศรีลังกา ชวา จีน มาเลเซีย และออสเตรเลีย

 

สรรพคุณของรากสามสิบ

          ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี  ใช้ ราก ต้มน้ำดื่ม แก้ริดสีดวงทวาร ช่วยขับลม      

          ตำรายาไทย  ใช้ ราก ซึ่งมีรสเย็น หวานชุ่ม ใช้แก้ขัดเบา ขับปัสสาวะ และขับเสมหะ บำรุงเด็กในครรภ์ บำรุงตับปอด แก้ตับปอดพิการ  บำรุงกำลัง แก้กระษัย      

          ยาพื้นบ้าน  ใช้ ทั้งต้นหรือราก ต้มน้ำดื่ม แก้ตกเลือด และโรคคอพอก ราก มีรสเฝื่อนเย็น กินเป็นยาแก้พิษร้อนในกระหายน้ำ แก้ปวดเมื่อย ครั่นตัว ฝนทาแก้พิษแมลงป่องกัดต่อย แก้ปวดฝี ทำให้เย็น ถอนพิษฝี พิษปวดแสบปวดร้อน ช่วยบำรุงเด็กในครรภ์ บำรุงตับ ปอด บำรุงกำลัง ผสมกับเหง้าขิงป่า และต้นจันทน์แดงผสมเหล้าโรงใช้เป็นยาแก้วิงเวียน ทั้งต้นหรือราก ต้มน้ำดื่ม แก้ตกเลือด และโรคคอพอก   ผลมีรสเย็น ปรุงเป็นยาแก้พิษไข้เซื่องซึม แก้พิษไข้กลับ ไข้ซ้ำ มักใช้ร่วมกับผลราชดัด เพื่อดับพิษไข้จากบิดเรื้อรัง        

         ในประเทศอินเดีย  ใช้ ราก เป็นยากระตุ้นประสาท หรือยาชูกำลัง บรรเทาอาการระคายเคือง ขับปัสสาวะ และรักษาโรคท้องเสีย

 

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของรากสามสิบ

          ที่ได้ชื่อว่าม้าสามต๋อน เพราะบำรุงกำลังทำให้มีแรงเหมือนม้า 3 ตัว ที่ได้ชื่อว่าผักหนาม เพราะก้านมีหนาม ที่ได้ชื่อว่าสามร้อยผัวเพราะทำให้หญิงกลับ  เป็นสาว ไม่ว่าจะอายุเท่าไรก็มีลูกมีผัวได้

 

           สารที่พบเช่น sarsapogenin, saponins A4-A7, quercetin, rutin, sitosterol glucosides, shatavarin 1 - 4, polycyclic alkaloid เป็นต้น ซึ่งเป็นสารที่ทำหน้าที่มีฤทธิ์เหมือนฮอร์โมนเอสโตรเจน จึงน่าจะมีบทบาทในการรักษาอาการที่เกิดขึ้นในช่วงวัยหมดระดูของสตรี รวมไปถึงบำรุง ผิวพรรณ และมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านเชื้อรา ลดการอักเสบและ ยับยั้งการสร้างเม็ดสี จึงทำให้ผิวกระจ่างใส

 

เอกสารอ้างอิง

    - ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.  “รากสามสิบ”. เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com. [12 มิ.ย. 2018].

   -  กระปุกดอทคอม.  (เภสัชกรหญิง สุภาภรณ์ ปิติพร).  “สาวร้อยผัว เคล็ดลับความงามสองพันปี”.  เข้าถึงได้จาก : hilight.kapook.com.  [09 ต.ค. 2014].    

    - Bopana, N. and Saxena, S. 2007. Asparagus racemosus - Ethnopharmacological evaluation and conservation needs. J Ethnopharmacol. 110: 1-15.    

    -  Lopez et al., 1996 อ้างอิงใน Anupam, K. S., et al., 2012. Asparagus racemosus (Shatavari): An Overview. INTERNATIONAL     JOURNAL OF PHARMACEUTICAL AND CHEMICAL SCIENCES. 1(3). 937-41.

ความคิดเห็น

วันที่: Fri Mar 29 17:24:27 ICT 2024

แสดงความคิดเห็น
All Comments: 0 Pages: 1/0
Desktop Version
 
Google analytics