Support
bangkoklab
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

ใบบัวบกมีดี..มากกว่าแก้ช้ำใน

blc@bangkoklab.co.th | 25-10-2560 | เปิดดู 3573 | ความคิดเห็น 0
  • product id 1173711,803480
  • product id 2173711,813272
  • product id 3173711,803479
  • product id 4173711,803474
  • product id 5173711,803472
  • product id 6173711,803470

แผลเป็นกับการใช้ในใบบัวบก ช่วยได้จริงหรือ?

 

 

 

          ในงานสาธารณสุขมูลฐานได้ส่งเสริมให้ใช้ ใบบัวบกเป็นสมุนไพรกลุ่มโรคผิวหนัง เพื่อรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก โดยแนะนำให้ใช้ส่วนของต้นและใบสด เพื่อช่วยสมานแผล เร่งการสร้างเนื้อเยื่อ ลดการอักเสบ ระงับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ที่ทำให้เกิดหนอง โดยนำใบสดปริมาณพอเหมาะกับแผล มาล้างให้สะอาดนำมาตำและคั้นเอาน้ำมาทา และเอากากพอก บริเวณที่เป็นแผลไฟ้ไหม้ น้ำร้อนลวก
 

           องค์การอนามัยโลกได้จัด บัวบก เป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์ 3 ด้าน ได้แก่ กลุ่มแรกเป็นกลุ่มที่มีข้อมูลทางคลินิกสนับสนุนในรูปแบบยาใช้ภายนอก มีฤทธิ์รักษา บาดแผลไฟไหม้ แผลเปื่อย ช่วยสมานแผล ป้องกันการเกิดคีลอยด์ (keloid) และแผลเป็นนูน (hypertrophic scar) และยาชนิดรับประทานได้ผลดีกับแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ที่เกิดจากความเครียด ส่วนด้านที่สองพบในเภสัชตำรับและยาพื้นบ้านให้ใช้กับแผลที่เกิดจากโรคเรื้อน และโรคหลอดเลือด และกลุ่มสุดท้ายที่ยังไม่มีการศึกษาสนับสนุน ได้แก่ ภาวะผิวเผือก โลหิตจาง หอบหืด หลอดลมอักเสบ บำรุงสมอง เป็นต้น
 

            นอกจากนี้ยังมีการศึกษา บัวบก ทางคลินิกกับผู้ป่วยที่เป็นแผลชนิดต่างๆ เช่น แผลเปื่อยเรื้อรังแผลอักเสบ แผลหลังการผ่าตัด แผลไฟไหม้ และแผลในผู้ป่วยเบาหวาน ทั้งด้วยชนิดรับประทาน และชนิดทาภายนอก พบว่า บัวบก หรือสารสกัดบัวบก ได้ผลดีในแผลชนิดต่างๆ โดยเฉพาะแผลไฟไหม้นั้นได้ผลดีกว่ายา silver sulfadiazine และมีรายงานการศึกษาในห้องทดลองพบว่า บัวบก หรือ สารสกัดบัวบก นอกจากจะส่งผลดีแร่งการสร้างเนื้อเยื่อ ช่วยสมานแผล เร่งให้แผลหายเร็วแล้ว ยังช่วยลดการนูนแดงของคีลอยด์ (keloid) และแผลเป็นชนิดนูน (hypertrophic scar) ได้ดีอีกด้วย ซึ่งสอดคล้องกับรายงานสมุนไพรขององค์การอนามัยโลก


            ดังนั้น บัวบก หรือ สารสกัดจากบัวบก จึงมีฤทธิ์ช่วยเร่งการสร้างเนื้อเยื่อ ด้านการอักเสบ และต้านเชื้อแบคทีเรียที่จะช่วยให้แผลที่เป็นอยู่นั้น ดำเนินการสร้างเนื้อเยื่อและหายเป็นปกติได้เร็วขึ้น พร้อมๆ กับการยับยั้งการสร้างสารที่ทำหน้าที่สร้างคอลลาเจน บริเวณที่เป็นแผลไม่ให้มากเกินไปจนเกิดเป็นคีลอยด์ (keloid) และแผลเป็นชนิดนูน (hypertrophic scar) ได้อีกด้วย

 

 

 

ความเชื่อเรื่อง "บัวบก"  กับการสร้างคอลลาเจนนั้นจริงหรือไม่?

ในเรื่องนี้มีการศึกษานำสารสกัดสำคัญของบัวบก คือ Asiatic acid ขนาด 30 ไมโครโมล่าร์ มีฤทธิ์ยับยั้ง transforming growth factor TGF – ß1 ซึ่งสารนี้จะไปกระตุ้นการแสดงออกของสารคอลลาเจน ชนิดที่ 1 โดยกลไกการยับยั้งผ่านการกระตุ้น PPAR – γ และสาระสำคัญอีกชนิดหนึ่งของบัวบก คือ asiaticoside ในขนาดความเข้มข้น ร้อยละ 0.5 – 1.0 ทาบางๆ วันละ 3 ครั้ง เป็นระยะเวลาติดต่อกัน 3 เดือน ช่วยให้แผลเป็นดีขึ้น

***จึงสรุปได้ว่า บัวบกและสารสกัดของบัวบก ช่วยลดการสร้างคอลลาเจนในกระบวนการสร้างเนื้อเยื่อของแผล และลดแผลเป็นชนิดนูน และคีลอยด์ได้

 

ประโยชน์ที่แท้จริงของ "บัวบก" เป็นอย่างไร? 

ผลิตภัณฑ์ของบัวบก มีทั้งที่เป็นผงยาของใบและต้น สารสกัดน้ำ สารสกัดในแอลกอฮอล์ และสารสำคัญบริสุทธิ์ ในรูปแบบต่างๆ เช่น ชาชง ทิงเจอร์ ยาเม็ด แคปซูล ครีม ขี้ผึ้ง ผงโรยผิวหนัง และแผ่นปิด ซึ่งมีสรรพคุณต่างๆ ดังนี้

สรรพคุณบกบัว

สำหรับ แก้ไข้ ร้อนใน ฟกซ้ำ โดยแนะนำให้ใช้ในรูปแบบยาแคปซูล หรือ ยาชงซึ่งแบบแคปซูลรับประทานครั้งละ 400 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร หรือ แบบยาชง ครั้งละ 2-4 กรัม ชงน้ำร้อนประมาณ 150 มิลลิลิตร วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร
 

สำหรับสรรพคุณในการสมานแผล

และช่วยให้แผลหายเร็ว แนะนำให้ใช้ยาครีมบัวบกที่มีสารสกัดร้อยละ 7 ตามน้ำหนัก ใช้ทาแผลทาวันละ 1-3 ครั้ง
 

สำหรับแผล แผลเป็นนูน หรือ แผลเป็นนูนชนิดคีลอยด์

แนะนำให้รับประทานยาเม็ดที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยสารสกัดบริสุทธิ์ของบัวบก ในขนาดเม็ดละ 10 มิลลิกรัม ครั้งละ 1-2 เม็ด วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร เป็นเวลา 4 สัปดาห์ หรือ ครีมที่มีความเข้มข้นร้อยละ 1 ของ สารสกัดบริสุทธิ์ของบัวบก ทาที่แผลโดยตรง
 

สำหรับแผลกดทับ

แผลเนื้อตาย แผลทะลุ แผลหลังการผ่าตัด แผลไฟไหม้ และแผลจาการฉายรังสี แนะนำให้ใช้ยาแคปซูลที่มีสารสกัดบริสุทธิ์ของบัวบก ในขนาดเม็ดละ 10 มิลลิกรัม ครั้งละ 2 เม็ด วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร ในช่วงที่เฉียบพลัน จะต่อด้วยครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง จนหายดี

 

***สั่งซื้อผลิตภัณฑ์ออนไลน์  ***

     

บรรณานุกรม

1. วีณา นุกูลการ, บรรณาธิการ. สมุนไพร Champion products.กรุงเทพ: บุญศิริการพิมพ์ ; 2560.
2. ฐานข้อมูลสมุนไพรไทย. บัวบก. http://www.pharmacy .mahidol.ac.th/med-plantdatabase/dtl_herbal.asp?hidKeylink=045CenoAsi00.{วันที่สืบค้น 26 กรกฎาคม พ.ศ.2560}

ความคิดเห็น

วันที่: Fri Mar 29 21:54:31 ICT 2024

แสดงความคิดเห็น
All Comments: 0 Pages: 1/0
Desktop Version
 
Google analytics