Support
bangkoklab
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

เพชรสังฆาต สมุนไพรรุกฆาตโรคกระดูกเสื่อม กระดูกพรุน

annmink | 02-12-2559 | เปิดดู 3704 | ความคิดเห็น 0
  • product id 1173711,803480
  • product id 2173711,813272
  • product id 3173711,803479
  • product id 4173711,803474
  • product id 5173711,803472
  • product id 6173711,803470

 

         เพชรสังฆาตมีชื่อวิทยาศาสตร์ Cissus quadrangularis L. คำว่า Cissus มาจากภาษากรีกว่า kissos หมายความถึงไม้เลื้อย เถา เพชรสังฆาตยังมีอีกชื่อว่า สามร้อยต่อ เพราะเอกลักษณ์ของเถาเพชรสังฆาตที่มีลักษณะเป็นข้อ ๆ ต่อกันคล้ายสายโซ่ยาวสีเขียว และยังหมายถึงจำนวนกระดูก 300 ชิ้น ตามพระคัมภีร์โรคนิทาน ซึ่งใช้รักษาโรคกระดูก 

          กระดูกประกอบด้วยธาตุแคลเซียมเป็นส่วนใหญ่กว่า 99% ซึ่งร่างกายสะสมแคลเซียมจากอาหารเพื่อสร้างการเจริญเติบโตของร่างกาย โดยอายุ 14 ปี ในหญิงและ 16 ปี ในชาย ร่างกายจะสะสมแคลเซียมสูงที่สุด และจะสะสมต่อไปเรื่อย ๆ จนอายุ 30 ปี จากนั้นจะค่อย ๆ เสื่อมลงโดยจะสูญเสียมวลกระดูกไปประมาณปีละ 0.5-1% โดยเฉพาะในหญิงที่หมดประจำเดือนจึงเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุน และในผู้สูงอายุการเสื่อมของกระดูกส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของกระดูก เช่น กระดูกสันหลังทรุดทำให้หลังค่อม

 

 

 

         เพชรสังฆาตเป็นสมุนไพรที่ใช้บำรุงกระดูกมาตั้งแต่สมัยโบราณ ในพระคัมภีร์สรรพลักษณะ สรรพคุณและมหาพิกัดที่มีมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยากล่าวถึงสรรพคุณของเพชรสังฆาตไว้ว่า “เพชรสังฆาต แก้จุกเสียด แก้บิด แก้ปวดในข้อในกระดูก ชอบแก้ลมทั้งปวงแล” ตำราแพทย์แผนโบราณ สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ กระทรวงสาธารณสุขกล่าวว่า เพชรสังฆาต มีสรรพคุณ แก้กระดูกแตก หัก ซ้น ขับลมในลำไส้ แก้ริดสีดวงทวารหนัก

        วิทยาศาตร์ปัจจุบันทำการวิจัยภูมิปัญญาโบราณพบว่า เพชรสังฆาตช่วยรักษากระดูกได้ โดยเพิ่มแร่ธาตุแคลเซียม ฟอสฟอรัสซึ่งเป็นแร่ธาตุที่ช่วยในการดูดซึมแคลเซียมไปสร้างกระดูก และต้านการอักเสบที่พบอันเกี่ยวเนื่องกับกระดูกและข้ออักเสบ เพราะในเพชรสังฆาตมีแคลเซียมสูงมาก มีสารอนาโบลิก สเตียรอยด์ (Anabolic steroids) เร่งปฏิกิริยาการสมานกระดูกที่แตกหักโดยกระตุ้นการสร้างเซลล์กระดูก (Osteoblast) และช่วยให้มีการสร้างสารมิวโคโพลีแซกคาไรด์ (Mucopolysaccharides) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในกระบวนการสมานกระดูก และสารคอลลาเจนในเพชรสังฆาตจะจับตัวกับผลึกแคลเซียมฟอสเฟตเป็นกระดูกแข็งและมีความยืดหยุ่น

 

 

 

        การทดสอบทางคลินิกของ Singh และคณะพบว่า เพชรสังฆาต (Harjor) เพิ่มแคลเซียม แคลเซียมออน และฟอสฟอรัสได้มากเมื่อเทียบกับมะรุม (Moringa) และยาหลอก (Placebo)

   วิธีใช้ เนื่องจากแคลเซียมในเพชรสังฆาตอยู่ในรูปแคลเซียมออกซาเลต (Calcium Oxalate) ซึ่งระคายเคืองเนื้อเยื่อ หากรับประทานโดยตรงจะก่อให้เกิดการระคายเคือง และก่อให้เกิดนิ่วได้ ดังนั้นต้องทำการสกัด และเตรียมให้อยู่ในรูปแบบเม็ดที่แตกตัวที่ลำไส้ใหญ่เพื่อจะได้ดูดซึมโดยตรง ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคือง

 

อ้างอิง

Singh, V., et al., 2011. Clinical evaluation of Cissus quadrangularis and Moringa oleifera and osteoseal as osteogenic agents in mandibular fracture. Natl J Maxillofac Surg. 2: 132–6.

 

เรียบเรียงโดย ดร.เริงฤทธิ์ สัปปพันธ์ 

 

 

ความคิดเห็น

วันที่: Thu Mar 28 23:10:19 ICT 2024

แสดงความคิดเห็น
All Comments: 0 Pages: 1/0
Desktop Version
 
Google analytics