Support
bangkoklab
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

เบาหวาน กับสมุนไพร

annmink | 02-12-2559 | เปิดดู 3493 | ความคิดเห็น 0
  • product id 1177439,830984
  • product id 2177439,830982

     

   

 

       ยาแผนปัจจุบันที่รักษาเบาหวานซึ่งแพทย์จะประเมินขนาดยาที่เหมาะสมจากอาการของผู้ป่วยและจากการตรวจค่าระดับน้ำตาลในเลือด และจ่ายให้ผู้ป่วยโดยให้ขนาดยาเท่ากันในแต่ละครั้ง ซึ่งปริมาณอาหารที่ผู้ป่วยรับประทานในแต่ละวันก็อาจมากน้อยไม่เท่ากัน ซึ่งส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดได้ มื้อใดที่ผู้ป่วยรับประทานอาหารน้อยกว่าปกติ ยาในขนาดที่เท่าเดิมที่ผู้ป่วยรับประทานก็อาจจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยลดต่ำกว่าปกติ และเนื่องจากยารักษาเบาหวานซึ่งเป็นโรคเรื้อรัง ต้องใช้ยาติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ ซึ่งยาตัวนี้ทำให้ตับเสื่อม ระคายเคืองในระบบทางเดินอาหาร และกดการทำงานของไขกระดูก ส่วนการใช้ยาสมุนไพรในการรักษาเบาหวานมีการทำการศึกษาในโรงพยาบาลทำการเก็บข้อมูลในผู้ป่วยหลายพันคน พบว่า มีประสิทธิภาพดี ปลอดภัย และทำให้ตับอ่อนสร้างอินซูลินได้ ทำให้สุขภาพดีแบบองค์รวม คือ ยาสามารถลดน้ำตาลโดยไม่ทำให้ระดับน้ำตาลต่ำจนเกิดภาวะช็อค กระตุ้นการสร้างอินซูลิน และต้านอนุมูลอิสระอันเกิดจากโรคเบาหวาน ซึ่งยาแผนปัจจุบันลดแค่น้ำตาลเพียงอย่างเดียว สมุนไพรที่ใช้รักษาเบาหวานมีหลายชนิด ยกตัวอย่างเช่น กำแพงเจ็ดชั้น ลำเจียก เตย ผักเชียงดา ชิงชี่ คนฑา หมาก ทองพันชั่ง หญ้าหนวดแมว อินทนิลน้ำ มะระ หว้า กรดน้ำ ครอบฟันสี อบเชย 

 

     ตัวอย่างตำรับยารักษาเบาหวาน กำแพงเจ็ดชั้น รากลำเจียก รากคนฑา รากชิงชี่ หญ้าหนวดแมว ทองพันชั่ง อบเชย หัวข้าวเย็นเหนือ หัวข้าวเย็นใต้ หัวร้อยรู แก่นสัก หญ้าชันกาด และมะแว้ง น้ำหนักเท่ากัน ต้มกับน้ำ ดื่มหลังอาหาร สามารถลดน้ำตาลในเลือด กระตุ้นการสร้างอินซูลิน และต้านอนุมูลอิสระ กำแพงเจ็ดชั้นเป็นสมุนไพรหนึ่งในตำรับยารักษาเบาหวานที่มีประสิทธิภาพดี และยังใช้รักษาโรคอื่น ๆ ได้อีกหลายโรค และมีการนำมาใช้ในหลายประเทศ ปรากฎในคัมภีร์อายุรเวทของเทศอินเดีย ไทย และกัมพูชา ใช้เนื้อไม้ต้มน้ำดื่ม แก้เบาหวาน รักษาโรคตับอักเสบ บำรุงโลหิต แก้ผอมแห้งแรงน้อย แก้โรคไต ขับปัสสาวะ แก้ท้องผูก แก้ปวดเมื่อย และจากผลการวิจัย ปัจจุบันกำแพงเจ็ดชั้นเป็นที่นิยมในสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น 

 

     กำแพงเจ็ดชั้นมีชื่อวิทยาศาสตร์ Salacia chinensis L. ชื่ออื่น ๆ ตะลุ่มนก กระดุมนก ตาไก้ ตาไก่ มะต่อมไก่ ขาวไก่ หลุมนก กลุมนก ขอบกระด้ง พรองนก เครือตากวาง น้ำนอง ลักษณะ เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง เนื้อไม้มีวงปีสีน้ำตาลแดงเข้มจำนวนหลายชั้นเห็นชัดเจน มักมี 7 ชั้น จึงตั้งเป็นชื่อต้น ใบเดี่ยว รูปรี กว้าง 2-4 เซนติเมตร ยาว 4-8 เซนติเมตร ขอบใบหยัก เรียงตรงข้าม ดอกช่อ สีเขียวอมเหลือง ออกดอกช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคม แกนดอกนูนเป็นวงกลม มี 3-7 ดอกในแต่ละช่อ กลีบดอกรูปรี ยาว 3-4 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร เกสรเพศผู้ 3 อัน ติดบนขอบฐานดอก รังไข่มี 3 ช่อง ออวุลมี 2 เม็ด ในแต่ละช่อง ผลกลมเกลี้ยงสีส้มแดง 

 

 

ลำต้นกำแพงเจ็ดชั้น

 
 
 
 
 
 
ดอกกำแพงเจ็ดชั้น
 
    องค์ประกอบทางเคมี สารสำคัญได้แก่ mangiferin, salacinol, kotalanol และ kotalagenin 16-acetate 
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา mangiferin เพิ่มการหลั่งอินซูลินทำให้ระดับนํ้าตาลในเลือดของหนูวัดได้ 102.25 mg/dl (เทียบกับยาไกลเบนคลาไมด์ 99.28 mg/dl และกลุ่มหนูเบาหวานที่ระดับนํ้าตาลในเลือด 288.29 mg/dl) salacinol และ kotalanol ต้านเบาหวานโดยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดส สารสกัดด้วยน้ำจากลำต้นยับยั้งเอนไซม์แอลฟากลูซิเดสในลำไส้เล็ก โดยสามารถยับยั้งเอนไซม์ซูเครส IC50 = 36.5 µg/ml และยับยั้งเอนไซม์มอลเตส IC50 = 87.3 µg/ml และยังออกฤทธิ์ในหลายกลไกลที่เกี่ยวข้องกับน้ำตาลและไขมัน เช่น peroxisome proliferator-activated receptor-alpha-mediated lipogenic gene transcription, angiotensin II/angiotensin II type 1 receptor, alpha-glucosidase, aldose reductase และ pancreatic lipase โดย aldose reductase ก็เป็นอีกกลไกลหนึ่งที่ช่วยป้องกันการเกิดเบาหวานขึ้นตา อันเป็นสาเหตุของต้อกระจกและทำให้ตาบอด โดย aldose reductase จะยับยั้งการเปลี่ยนน้ำตาลกลูโคสที่สะสมที่ตา ซึ่งหากมี aldose reductase จะเปลี่ยนกลูโคสให้เกิดเป็นซอร์บิทอลซึ่งไม่สามารถแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ ทำให้เกิดการสะสมน้ำและเกิดความดันสูงที่ลูกตา ทำให้เกิดต้อและตาบอด 
   
อ้างอิง
1. Sellamuthu, P. S., et al., 2012. Effect of mangiferin isolated from Salacia chinensis regulates the kidney carbohydrate metabolism in streptozotocin–induced diabetic rats. Asian Pacific Journal of Tropical Biomedicine. 21: S1583-7.
2. Muraoka, O., et al., 2010. Quantitative determination of potent α-glucosidase inhibitors, salacinol and kotalanol, in Salacia species using liquid chromatography–mass spectrometry. Journal of Pharmaceutical and Biomedical Analysis. 52: 770–3.  
3. Li, Y., H.-W. Huang, T., and Yamahara, J., 2008. Salacia root, a unique Ayurvedic medicine, meets multiple targets in diabetes and obesity. Life Sciences. 82: 1045-9.
4. Patel, D. K., et al., 2012. Pharmacologically tested aldose reductase inhibitors isolated from plant sources—A concise report. Chinese Journal of Natural Medicines. 10: 0388-40.
เรียบเรียง ดร.เริงฤทธิ์ สัปปพันธ์

ความคิดเห็น

วันที่: Wed Apr 24 08:52:27 ICT 2024

แสดงความคิดเห็น
All Comments: 0 Pages: 1/0
Desktop Version
 
Google analytics